ปัจจัยการจัดอันดับ google นั้น มีมากกว่า 200 ปัจจัย แต่ปัจจัยที่ว่านั้น มันคืออะไร? บทความนี้จะกล่าวให้ทราบถึงปัจจัยการจัดอันดับ Google ทั้งหมด บางอย่างก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลจริงต่อการทำอันดับ Google บางอย่างก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เราได้รวบรวมทั้งหมดนี้มาไว้ให้คุณแล้วที่นี่ สามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ 9 หมวด ดังนี้
ปัจจัยการจัดอันดับ Google
ปัจจัยด้านโดเมน
1. อายุของโดเมน: Matt Cutts อดีตหัวหน้าทีม Web Spam ของ Google ได้กล่าวไว้ว่า

“The difference between a domain that’s six months old versus one year old is really not that big at all.”
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ Google ใช้ อายุของโดเมนเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่ไม่ได้สำคัญมากนักนั่นเอง
2. คีย์เวิร์ดที่ปรากฏอยู่ใน Top Level Domain: จริง ๆ การมีคีย์เวิร์ดอยู่ในชื่อโดเมน ไม่ได้ช่วยในการอัพอันดับขึ้นมามากมายนัก แต่ยังคงมีผลต่อ %CTR (Click Through Rate) เนื่องจาก Google ได้ทำการ Highlight คีย์เวิร์ดที่ค้นหาไว้นั่นเอง
3. การใช้คีย์เวิร์ดเป็นชื่อโดเมน: โดเมนที่ขึ้นต้นด้วยคีย์เวิร์ดเป้าหมายนั้น ได้เปรียบโดเมนอื่นที่ไม่มีคีย์เวิร์ดในชื่อโดเมน (หรือมีคีย์เวิร์ดอยู่ส่วนกลาง หรือส่วนท้ายของโดเมน)
4. วันหมดอายุของโดเมน: สิทธิบัตรของ Google กล่าวไว้ว่า:

“Valuable (legitimate) domains are often paid for several years in advance, while doorway (illegitimate) domains rarely are used for more than a year. Therefore, the date when a domain expires in the future can be used as a factor in predicting the legitimacy of a domain.”
5. คีย์เวิร์ดที่อยู่ใน Subdomain: ผู้เชี่ยวชาญของ Moz มีความเห็นว่าคีย์เวิร์ด ที่ปรากฏใน subdomain นั้นสามารถทำอันดับให้สูงขึ้นได้

6. ประวัติของโดเมน: เว็บไซต์ที่มีการโอนเปลี่ยนเจ้าของ อาจจะต้องมีการแจ้งทาง Google ให้ทำการรีเซ็ตประวัติ และลบลิงก์เชิงลบที่ชี้มายังโดเมน มิเช่นนั้นแล้ว โทษทัณฑ์ต่าง ๆ ที่เคยมีกับทาง Google มาก่อน อาจส่งต่อมายังเจ้าของใหม่ได้
7. โดเมนที่มีชื่อเหมือนคำค้น (Exact Match Domain): โดเมนชนิดนี้จะช่วยให้คุณได้เปรียบในการทำอันดับ แต่ถ้าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพต่ำ ก็เสี่ยงที่จะโดนแบนจาก Google ได้ เนื่องจาก Google ได้ทำการ EMD อัพเดท ในปี 2012
8. Public กับ Private WhoIs: Private WhoIs นั้นอาจส่งสัญญาณบอกเราว่า “มีบางอย่างต้องการปิดบังไว้” Googler Matt Cutts ได้เคยกล่าวไว้:

“…When I checked the whois on them, they all had “whois privacy protection service” on them. That’s relatively unusual. …Having whois privacy turned on isn’t automatically bad, but once you get several of these factors all together, you’re often talking about a very different type of webmaster than the fellow who just has a single site or so.”
9. ทำโทษที่ตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของเว็บทั้งหมด: หาก Google จับได้ว่า บุคคลใดก็ตาม มีนิสัยชอบสแปม Google จะทำการทำโทษแบนเว็บไซต์ทั้งหมดที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของ โดยตรวจสอบเว็บไซต์ที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของ จาก Whois
10. นามสกุลลงท้ายโดเมน ที่เป็นสกุลของประเทศนั้น ๆ (Country TLD extension): การที่มี Country Code Top Level Domain (เช่น .th, .cn, .pt, .ca) สามารถช่วยให้อันดับดีขึ้นได้ในประเทศนั้น ๆ แต่ก็มีข้อจำกัดในกรณีที่ต้องการทำอันดับในประเทศอื่น ๆ
ปัจจัยองค์ประกอบของหน้าเว็บ
11. คีย์เวิร์ดใน Title Tag: ถึงแม้ว่าการมีคีย์เวิร์ดใน Title Tag จะไม่จำเป็นมากขนาดนั้น แต่การที่ title tag มีคีย์เวิร์ดที่สำคัญก็เป็นสัญญาณที่ดีในการทำ on-page SEO
12. Title Tag ที่เริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด: จากรายงานของ Moz ทำให้เราทราบว่า title tags ที่เริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ดนั้น มีส่วนช่วยให้อันดับที่ดีกว่าการมีคีย์เวิร์ดอยู่ส่วนท้ายของ title tag
13. คีย์เวิร์ดอยู่ใน Description Tag: Google นั้น ไม่ใช้ meta description tag ในการจัดอันดับแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม description tag นั้น อาจส่งผลต่อ %CTR ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการจัดอันดับ
14. คีย์เวิร์ดอยู่ใน H1 Tag: H1 tags หรืออีกความหมายหนึ่งคือ “second title tag” เช่นเดียวกันกับ title tag Google ใช้ H1 tag เป็นสัญญาณหนึ่งในการให้ความสัมพันธ์กับคีย์เวิร์ดที่ถูกค้นหา
15. TF-IDF: หรือสั้น ๆ คือ “มีคำคำนั้นปรากฏอยู่ในบทความมากแค่ไหน?” คำใดก็ตามที่พบบ่อยในหน้าเพจ อาจแปลความหมายได้ว่า เพจนั้น น่าจะสอดคล้องกับคำคำนั้น ซึ่ง Google มีวิธีในการค้นหา TF-IDF ที่แม่นยำและซับซ้อน
16. ความยาวของเนื้อหา: เนื้อหาที่ดี และมีคำมากกว่า สามารถให้รายละเอียดได้มากกว่า และส่งผลดีมากกว่าเนื้อหาที่สั้น จากงานศึกษาพบว่า ความยาวของเนื้อหามีผลโดยตรงต่ออันดับในหน้า Google
17. สารบัญ: การมีตารางลิงก์สารบัญจะช่วยให้ Google เข้าใจหน้าเพจของคุณได้ง่ายขึ้น มีเพจนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ซึ่งมีผลคล้ายกับการจัดทำ sitelinks
18. ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด: ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับเมื่อก่อน แต่ Google อาจใช้มันในการบอกถึงหัวข้อของเว็บไซต์ แต่การมีมากจนเกินไปอาจทำให้ถูกแบนได้
19. Latent Semantic Indexing Keywords ในเนื้อหา(LSI): LSI คีย์เวิร์ด ช่วยให้ search engines สามารถบอกความหมายที่แท้จริงของคำนั้น ๆ เช่นคำที่มีมากกว่า 1 ความหมาย (ยกตัวอย่าง Apple ที่เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ กับ Apple ที่เป็นผลไม้) การมี LSI อยู่ในเนื้อหา แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเนื้อหานั้น ๆ
20. LSI คีย์เวิร์ดในส่วนของ Title และ Description Tags: LSI ในส่วนของ meta tags จะช่วยให้ Google มองเห็นถึงความหมายในคำที่มีหลายความหมาย และมีส่วนช่วยให้อันดับดีขึ้น
21. เนื้อหาเชิงลึกหลายหน้าครอบคลุม: มีความสัมพันธ์ชัดเจน สำหรับความลึกของเนื้อหากับอันดับ Google ดังนั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเชิงลึกครอบคลุมทุกแง่มุมและมีหลายหน้า หลายบทความ จะได้เปรียบในการทำอันดับมากกว่าเพจที่กล่าวถึงเนื้อหานั้นเพียงหน้าเดียว หรือเพียงบางส่วน
22. ความเร็วในการโหลดเพจผ่าน HTML: ทั้ง Google และ Bing นั้น ใช้ความเร็วในการโหลดเพจ เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ Search engine spiders สามารถคาดการณ์ความเร็วเว็บไซต์ของคุณได้อย่างแม่นยำจาก HTML code บนหน้าเพจคุณ
23.ความเร็วในการโหลดเพจ ผ่าน Chrome: Google อาจใช้ข้อมูลผู้ใช้ Chrome เพื่อช่วยในการโหลดเพจให้เร็วยิ่งขึ้น นั่นหมายความว่า Google สามารถวัดความเร็วในการโหลดเพจผ่าน Chrome ได้นั่นเอง
24. มีการใช้ AMP: ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการจัดอันดับ แต่ AMP อาจมีผลต่อการทำอันดับในหมวดของ mobile version ของ Google News
25. ระดับความสัมพันธ์กับคำค้น: คำถามคือเนื้อหาเพจนั้นมีความสัมพันธ์อย่างโดดเด่นกับคำที่ถูกค้นหาหรือไม่? ถ้าใช่ เพจนั้นก็จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่า สำหรับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ
26. Google Hummingbird: หลังจากมีการอัพเดท Google Hummingbird Google ก็สามารถเข้าใจคีย์เวิร์ดมากขึ้น และเข้าใจถึงเนื้อหาของเพจได้มากขึ้นด้วย
27. เนื้อหาที่ซ้ำซ้อน (Duplicate Content): การที่เรามีเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนภายในเว็บไซต์นั้น ไม่เป็นผลดีแต่อย่างใด และจะส่งผลเสียต่อการมองเห็นจาก Search engines
28. Rel=Canonical: หากใช้งานอย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันการแบนจาก Google ในเรื่องของการมีเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนได้เป็นอย่างดี
29. การปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพ: รูปภาพนั้นส่งสัญญาณอย่างชัดเจนให้กับ search engines ผ่านทางชื่อไฟล์, alt text, title, description และ caption ดูวิธีปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพ
30. ความสดใหม่ของเนื้อหา: หลังจากที่ Google ได้ทำการอัพเดท Google Caffeine เนื้อหาที่ตีพิมใหม่ ข้อมูลที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาที่เป็น time-sensitive, Google ให้ความสำคัญสำหรับปัจจัยนี้เป็นอย่างมาก โดยในหน้าค้นหาปัจจุบัน Google ได้แสดงวันที่ ที่หน้าเพจนั้นตีพิมไว้ด้วย

31. ปริมาณของเนื้อหาที่อัพเดท: ไม่เพียงแต่การแก้ไข เปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้ใหม่อยู่เสมอเท่านั้น การเพิ่ม หรือลบเนื้อหาเป็นส่วน ๆ ชัดเจน มีผลมากกว่าการสลับเนื้อหาไปมาหรือแก้คำที่สะกดผิดสองสามคำ
32. ประวัติการอัพเดทเพจ: เพจนั้นได้รับการอัพเดทบ่อยแค่ไหน รายวัน รายสัปดาห์ หรือทุก ๆ 5 ปี ยิ่งอัพเดทบ่อยมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เนื้อหามีความสดใหม่มากขึ้นเท่านั้น
33. การให้ความสำคัญของคีย์เวิร์ด: การที่คีย์เวิร์ดปรากฏอยู่ใน 100 คำแรกของหน้าเพจ มีความสัมพันธ์กับอันดับ Google
34. คีย์เวิร์ดในส่วนของ H2, H3 Tags: การมีคีย์เวิร์ดในส่วนของหัวข้อรอง H2 หรือ H3 อาจส่งสัญญาณอ่อน ๆ บอกถึงความสัมพันธ์ในเนื้อหา John Mueller จากทีม Google ได้กล่าวเอาไว้

“These heading tags in HTML help us to understand the structure of the page.”
35. คุณภาพของลิงก์ที่ถูกส่งออกไปภายนอก: นักทำ SEO มืออาชีพให้ความสำคัญกับลิงก์ที่ส่งออกไปภายนอก ว่าเป็นการส่งสัญญาณบอก Google เป็นนัย ๆ ความเชื่อนี้ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผล ในปัจจุบัน
36. ธีมของเว็บไซต์ที่เราส่งออกไป: จากการอัพเดท The Hillop Algorithm ของ Google สามารถตรวจสอบได้ว่าเนื้อหาของเพจที่คุณลิงก์ออกไปนั้น มีความสัมพันธ์กับเนื้อหามากแค่ไหน ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเพจเกี่ยวกับรถยนต์ แต่กลับลิงก์ออกไปยังเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณบอก Google ว่า เพจของคุณนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์เกี่ยวกับรถยนต์ ไม่ใช่เพจที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์โดยตรง
37. ไวยากรณ์และการสะกดคำ: การมีเนื้อหาที่ถูกหลักไวยากรณ์ และสะกดถูกต้อง แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเว็บไซต์ Matt Cutts ได้เคยกล่าวถึงความสำคัญนี้เมื่อหลายปีก่อน
38. เนื้อหานั้นไม่เคยมีการตีพิมมาก่อน (Syndicated Content): เนื้อหาในเพจของคุณนั้น เป็นต้นฉบับไม่เคยมีการตีพิมมาก่อนหรือไม่? หากเนื้อหาของคุณไม่ใช่ต้นฉบับ หากแต่ว่าไม่ก๊อปปี้เค้ามา การทำอันดับก็จะได้ไม่ดี หรือแย่ไปกว่านั้น อาจไม่ได้รับการจัดอันดับใด ๆ เลย
39. เป็นมิตรต่อการอ่านบนมือถือ (Mobile Friendly): เป็นอัลกอริทึมอัพเดทของ Google เมื่อหลายปีก่อน จะให้คะแนนเว็บที่ได้รับการพัฒนาให้อ่านง่ายบนอุปกรณ์มือถือมากกว่า
40. ใช้งานง่ายบนมือถือ (Mobile Usability): เว็บไซต์ที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายบนมือถือ จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าหากผู้ใช้ทำการค้นหาบนอุปกรณ์มือถือ “Mobile-first Index”
41. “เนื้อหาที่ซ่อนไว้” ไม่แสดงบนอุปกรณ์มือถือ: เนื้อหาที่ซ่อนไว้ไม่แสดงบนอุปกรณ์มือถือ จะไม่ได้รับการประเมินจาก Google (หรืออาจได้รับการประเมินเพียงเล็กน้อย) เมื่อเทียบกับเนื้อหาฉบับเต็ม อยากไรก็ตาม Google ได้ออกมาประกาศว่า การซ่อนเนื้อหาไว้ไม่แสดงบนอุปกรณ์มือถือนั้น เป็นที่ยอมรับได้ แต่ได้กล่าวในการประกาศครั้งเดียวกันนั้นว่า “…ถ้ามันเป็นเนื้อหาส่วนที่สำคัญ มันควรจะมองเห็นได้นะ…”
42. เนื้อหาช่วยเหลือ “Supplementary Content”: จากเอกสารตีพิมของ Google Google Rater Guidelines Document, การมีเนื้อหาช่วยเหลือในเพจ เป็นตัวชี้วัดว่าเพจนั้นมีคุณภาพ (และส่งผลต่อการทำอันดับ Google) ตัวอย่างเช่น การมีเครื่องแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือการมีเครื่องคำนวณดอกเบี้ยต่าง ๆ
43. เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ใน Tabs: ผู้ใช้จำเป็นต้องคลิ๊กบน Tab เพื่ออ่านเนื้อหาที่ซ่อนอยู่หรือไม่? ถ้ามี Google ได้กล่าวไว้ว่า เนื้อหาส่วนนี้ “อาจจะไม่ได้รับการพิจารณา”
44. ปริมาณลิงก์ที่ส่งออกไปภายนอก: หากมีลิงก์ที่ส่งออกไปภายนอก (dofollow) มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อการทำอันดับ
45. สื่อมัลติมีเดีย: การที่เนื้อหานั้น ประกอบด้วยภาย วิดิโอ และสื่อต่าง ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าเนื้อหานั้น มีคุณภาพดี และมีกรณีศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับการทำอันดับ
46. จำนวนลิงก์ภายในที่ชี้มายังเพจ: จำนวนของลิงก์ภายใน เป็นตัวบอกถึงระดับความสำคัญระหว่างเพจนั้น กับเพจอื่น ๆ ภายในเว็บ
47. คุณภาพของลิงก์ภายในที่ชี้มายังเพจ: ลิงก์ภายในจากเพจที่มีคุณภาพนั้น มีผลต่อการทำอันดับมากกว่าลิงก์ที่มาจากเพจที่ไม่มี PageRank
48. ลิงก์เสีย (Broken Links): การมีลิงก์ที่เสียอยู่ในเพจมากจนเกินไป ส่งสัญญาณให้เห็นว่า เพจนั้น ไม่ได้รับการดูแล หรือกำลังจะถูกทิ้ง Google ใช้ปัจจัยนี้ในการให้คะแนนคุณภาพของเพจ
49. ระดับความยากง่ายในการอ่าน: Google นั้นประเมินความยากง่ายในการอ่านเนื้อหาในเว็บไซต์ ในความเป็นจริงแล้ว Google เคยให้คะแนนระดับความยากง่ายในการอ่านเอาไว้ด้วย
แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น บ้างก็ว่า การทำให้เนื้อหามีความเรียบง่ายที่สุด จะช่วยให้ทำอันดับได้ดีกว่า แต่บ้างก็โต้แย้งว่าการทำให้เนื้อหาเรียบง่ายนั้น น่าเบื่ออย่างกับการอ่านสารานุกรม

50. ลิงก์ Affiliate ต่าง ๆ: ลิงก์ Affiliate นั้น โดยตัวของมันเองแล้ว จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อการจัดอันดับของคุณเลย แต่ถ้าคุณมีมากจนเกินไป Google อาจพิจารณาถึงคุณภาพเว็บไซต์ของคุณ และตรวจสอบว่าคุณไม่ได้เป็นเว็บไซต์ affiliate ที่ชอบโฆษณาอย่างเดียว
51. HTML errors/W3C validation: การที่เว็บไซต์เรามี HTML errors มากเกินไป ส่งสัญญาณให้เห็นว่าเป็นเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ ในทางตรงกันข้าม เว็บไซต์ที่มีโค้ดที่ดี ก็จะถูกมองว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพ
52. Domain Authority: ถ้าปัจจัยตัวอื่น ๆ เท่าเทียมกันทั้งหมด เพจที่มี Domain Authority สูงกว่า จะทำอันดับได้ดีกว่าเสมอ
53. PageRank ของหน้า: อาจจะไม่ได้มีความสัมพันธ์กันโดยตรง แต่เพจที่มีลิงก์ที่ดีเข้ามามากกว่า มีแนมโน้มที่จะทำอันดับได้ดีกว่าเพจที่ไม่มีลิงก์ชี้มา หรือมีน้อย
54. ความยาวของ URL: URL ที่มีความยาวมากจนเกินไป อาจส่งผลเสียทำให้ search engine หาไม่เจอ จากกรณีศึกษาพบว่า URL ที่สั้นมีแนวโน้มที่จะทำอันดับได้ดีกว่าในหน้าค้นหา Google
55. ส่วนของ URL: เพจที่มีส่วนใกล้กับหน้าหลักมากกว่า จะได้รับ authority มากกว่าเพจที่อยู่ลึกใน subcategories ในโครงสร้างเว็บไซต์
56. ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ (Human Editors): ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการยืนยันชัดเจน แต่ Google ได้ออกสิทธิบัติเกี่ยวกับระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้ทำการแก้ไขเนื้อหาได้ และส่งผลต่อ SERPs
57. หมวดหมู่ของเพจ (Page Category): หมวดหมู่ของเพจนั้นเป็นสัญญาณที่ชัดเจน หน้าเพจที่มีส่วนที่ใกล้เคียงกับหมวดหมู่ จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าหน้าเพจที่อยู่ผิดหมวด
58. WordPress Tags: Tags คือสัญญาณที่เฉพาะเจาะจงใน WordPress จากรายงานของ Yoast.com:

“The only way it improves your SEO is by relating one piece of content to another, and more specifically a group of posts to each other.”
59. คีย์เวิร์ดใน URL: ก็มีความสัมพันธ์กับการจัดอันดับ ถึงแม้ว่า Google จะบอกว่า “เป็นปัจจัยเล็ก ๆ” แต่ก็ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับ Google อยู่ดี
60. URL String: หมวดหมู่ย่อยที่แสดงใน URL string นั้น Google สามารถมองเห็นได้ และเป็นตัวบ่งบอกว่าเพจนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร:

61. การอ้างอิงและแหล่งที่มา: การอ้างอิงถึงแหล่งที่มี ลักษณะคล้ายงานวิจัย แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของบทความ จากคู่มือ The Google Quality Guidelines แสดงให้เห็นว่า ผู้ตรวจทานควรตรวจถึงแหล่งที่มาด้วย เวลาที่ตรวจเพจ “นี้เป็นหัวข้อที่ว่า แหล่งที่มาของข้อมูลนั้น มีความสำคัญ …” อย่างไรก็ตาม Google ได้ออกมาปฏิเสธว่า Google ไม่ได้ใช้ลิงก์ภายนอกเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการจัดอันดับ
62. หัวข้อต่าง ๆ และลำดับตัวเลข: ลำดับตัวเลข หรือ Bullets ต่าง ๆ ช่วยแบ่งเนื้อหาให้ง่ายต่อผู้อ่าน และทำให้ง่ายต่อการค้นหา ซึ่ง Google เห็นด้วย และให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่มีหัวข้อ และมีตัวเลขเป็นข้อ ๆ
63. ระดับความสำคัญของหน้าเพจนั้นใน Sitemap: Google สามารถตรวจสอบได้จาก sitemap.xml ซึ่งส่งผลต่อการจัดอันดับ
64. มีลิงก์ออกไปภายนอกมากจนเกินไป: จากเอกสารคุณภาพของเพจโดย Google:

“Some pages have way, way too many links, obscuring the page and distracting from the Main Content.”
65. ปริมาณของคีย์เวิร์ดอื่น ๆ ที่เพจนั้นต้องการทำอันดับ: ถ้าหน้าเพจนั้นมีคีย์เวิร์ดหลายคำ อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าเพจนั้นเป็นเพจที่มีคุณภาพ
66. อายุของเพจ: ถึงแม้ว่า Google จะชอบเนื้อหาที่สดใหม่ เพจที่มีอายุมากกว่าและมีการอัพเดทสม่ำเสมอนั้น จะทำอันดับได้ดีกว่าเพจที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่
67. มีรูปแบบที่ใช้งานง่าย: ตัดมาจากบทความ the Google Quality Guidelines Document อีกครั้ง:

“The page layout on highest quality pages makes the Main Content immediately visible.”
68. Parked Domains: จากการอัพเดทของ Google ในเดือนธันวาคม 2011 Google ได้ลดความสำคัญของโดเมนที่ฝากแปะเอาไว้ และไม่มีพื้นที่โฮสของตัวเอง
69. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (Useful Content): Google ได้มีการแยกแยะระหว่าง “คุณภาพ” และ “ประโยชน์” ของเนื้อหา
ปัจจัยด้านเว็บไซต์
70. เนื้อหาที่นำเสนอนั้นต้องมีคุณค่า และมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร: Google ได้กล่าวไว้ว่า Google มีความสุขทุกครั้งที่ได้ทำโทษแบนเว็บไซต์ที่ไม่ได้นำเสนออะไรใหม่ ๆ เลย นอกเสียจากทำตัวเป็นเว็บ affiliate แบบคร่าว ๆ
71. หน้าติดต่อเรา (Contact Us): จากที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วใน The Google Quality Document ว่า Google ชอบเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการติดต่อที่เหมาะสม และเพียงพอ และมีโบนัสให้สำหรับรายละเอียดหน้าติดต่อเรา ที่เหมือนกับที่ให้ไว้กับ whois
72. Domain Trust/TrustRank: นักทำ SEOs เชื่อว่า “TrustRank” นั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการทำอันดับ และจากสิทธิบัติของ Google เรื่อง “Search result ranking based on trust” ดูเหมือนจะสนับสนุนความคิดนี้ได้เป็นอย่างดี
73. สถาปัตยกรรมภายในเว็บไซต์ (Site Architecture): เว็บไซต์ที่มีสถาปัตยกรรมโครงสร้างที่ดีกว่า (เช่น silo structure) จะช่วยให้ Google จัดการกับเนื้อหาของคุณได้ง่าย และช่วยให้ Googlebot เข้าถึง และสร้างดัชนีเว็บไซต์ของคุณได้ง่าย
74. การอัพเดทเว็บไซต์: นักทำ SEOs เชื่อว่า เว็บไซต์ที่อัพเดทบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในเว็บไซต์เป็นปัจจัยให้เว็บไซต์มีความสดใหม่ ถึงแม้ว่า Google ได้ออกมาปฏิเสธ เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าพวกเขาใช้ “ความถี่ในการตีพิมบทความ” เข้าไปในอัลกอริทึมจัดอันดับ
75. การมี Sitemap: Sitemap นั้น ช่วยให้ Search engines จัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายกว่า และลึกซึ้ง ถูกต้องมากกว่า และช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของ Search engines
76. Site Uptime: การที่เว็บไซต์ของคุณอยู่ในโหมด site maintenance หรือไม่ก็ server มีปัญหา หรือมี downtimes เป็นจำนวนมากนั้น ส่งผลเสียต่ออันดับของคุณ (และอาจทำให้ยกเลิกการจัดอันดับไปเลย ถ้ามีข้อผิดพลาด)
77. ตำแหน่งที่ตั้งของ Server: ตำแหน่งที่ตั้งของ Server นั้น ส่งผลกับว่าคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณนั้น ทำอันดับได้ดีในพื้นที่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาตามพื้นที่
78. SSL Certificate: Google ยืนยันว่า การใช้ HTTPS นั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการทำอันดับ
จาก Google สรุปได้ว่า หากเว็บไซต์เหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ HTTPS กับ HTTP, HTTPS จะทำอันดับได้ดีกว่า
79. ข้อกำหนดการให้บริการ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว: สองหน้านี้จะช่วยบอก Google ว่าเว็บไซต์นั้นมีคุณค่า และน่าเชื่อถือได้ ในโลกอินเตอร์เน็ต
80. เนื้อหา Meta Information ที่ซ้ำซ้อน ในหลายหน้าเพจ: การมีเนื้อหา meta information ที่ซ้ำซ้อนในหลายหน้าเพจจะทำให้การมองเห็นจาก search engines ลดลง ในทางปฏิบัติ the Search Console จะเตือนคุณ หากคุณมีส่วนนี้ซ้ำมากจนเกินไป
81. Breadcrumb Navigation: เป็นรูปแบบที่เป็นมิตรต่อผู้อ่าน และแสดงถึงโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีและช่วยให้ผู้อ่านใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น (รวมถึง search engines) ทำให้รู้ว่าอยู่ส่วนไหนของเว็บไซต์แล้ว

Google ได้กล่าวไว้ว่า: “การค้นหาใน Google นั้น ใช้ breadcrumb เป็นตัวอ้างอิงถึงเนื้อหาภายในเว็บ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลในหน้าผลการค้นหาของ Google”
82. Mobile Optimized: ปัจจุบันผลการค้นหามากกว่าครึ่ง มาจากอุปกรณ์มือถือ Google ต้องการที่จะให้เว็บไซต์ของคุณทำงานได้ดีบนอุปกรณ์มือถือของผู้ใช้ทุกคน จริง ๆ แล้วปัจจุบันนี้ Google ได้มีการทำโทษเว็บไซต์ที่ไม่เป็นมิตรกับอุปกรณ์มือถือ
83. YouTube: ไม่ต้องสงสัยว่าวิดีโอ YouTube นั้น ได้รับ priority จาก Google ในการแสดงผลในหน้าค้นหาของ Google (อาจเป็นเพราะว่า Google เป็นเจ้าของ YouTube)

ในความเป็นจริง Search Engine Land พบว่า traffic จาก YouTube.com นั้น เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากที่มีการอัพเดท Google Panda
84. ความง่ายต่อการใช้งานเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่ยากต่อการใช้งาน หรือค้นหาสิ่งต่าง ๆ บนเว็บ ส่งผลเสียทางอ้อมต่อการทำอันดับ โดยการลด time on site ของผู้เยี่ยมชม และเพิ่มอัตราการตีกลับ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ เป็นปัจจัยในการทำอันดับ RankBrain
85. การใช้งาน Google Analytics และ Google Search Console: บ้างก็คิดว่า การติดตั้ง 2 โปรแกรมนี้เข้าไปในเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มดัชนีการค้นหาเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะมีผลโดยตรงต่อการทำอันดับ โดยการที่เราให้ข้อมูลกับ Google เพิ่มเติม ทำให้ Google ทำงานได้ง่ายขึ้น (เช่น accurate bounce rate หรือจำนวน traffic ที่ได้มาจาก backlinks และอื่น ๆ) อย่างไรก็ตาม Google ได้ออกมาปฏิเสธว่า พวกเขาไม่ได้ใช้ปัจจัย 2 โปรแกรมนี้เป็นปัจจัยการจัดอันดับ Google
86. จำนวน reviews และชื่อเสียงของเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงเช่น Yelp.com นั้นมีส่วนสำคัญในอัลกอริทึมของ Google โดย Google ถึงกับออกมาแสดงความเห็นว่า พวกเขาไม่ทราบเหมือนกันว่า Yelp ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการแสดงรีวิวของลูกค้า
ปัจจัยด้าน Backlinks
87. อายุของโดเมนที่ลิงก์มา: Backlinks ที่มาจากโดเมนที่มีอายุจะมีพลังมากกว่า backlinks ที่มาจากโดเมนที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่
88. จำนวนของลิงก์ที่อ้างอิงมา: จำนวนของลิงก์ที่อ้างอิงมาจัดเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับ Google ที่สำคัญคุณอาจเห็นได้จากกราฟกรณีศึกษาด้านล่าง จาก 1 ล้าน การค้นหาใน Google
89. จำนวนของลิงก์ที่มาจาก C-Class IPs อื่น: ลิงก์ที่มาจาก class-c IP addresses อื่น จะช่วยให้ความหลากหลายของลิงก์ที่ลิงก์มาหาคุณมากขึ้น และช่วยให้อันดับดีขึ้น
90. จำนวนของเพจที่ลิงก์: จำนวนรวมของเพจที่ลิงก์ แม้จะมาจากโดเมนเดียวกัน ก็เป็นปัจจัยการจัดอันดับ Google
91. Backlink Anchor Text: ตามที่ได้กล่าวไว้ในอัลกอริทึมดั้งเดิมของ Google

“First, anchors often provide more accurate descriptions of web pages than the pages themselves.”
เป็นที่น่าสังเกตว่า anchor text ในปัจจุบันนั้น มีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อก่อน (และ ถ้าจงใจทำให้มีความสำคัญมากจนเกินไป “over-optimized” จะกลายเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเป็นสแปม) แต่ anchor text ที่มีคีย์เวิร์ดสำคัญอยู่มาก ก็ยังให้สัญญาณที่ดีกว่าเพจที่มี anchor text จำนวนน้อย
92. Alt Text (สำหรับลิงก์รูปภาพ): Alt text นั้นทำหน้าที่คล้ายกับ anchor text สำหรับรูปภาพ
93. ลิงก์จากโดเมน .edu หรือ .gov: Matt Cutts ได้กล่าวเอาไว้ว่า TLD นั้นไม่ใช่ปัจจัยที่บ่งบองถึงความสำคัญของเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจเลี่ยงที่จะคิดได้ว่า เว็บไซต์ที่มีลิงก์มาจาก .gov และ .edu นั้นมีความพิเศษบางอย่าง
94. Authority ของเพจที่ลิงก์มา: Authority (PageRank) ของเพจที่อ้างอิงมา ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญตั้งแต่สมัยก่อน จนถึงทุกวันนี้
95. Authority ของโดเมนที่ลิงก์มา: โดเมนที่อ้างอิงมามีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณค่าของเพจ
96. ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์คู่แข่ง: ลิงก์จากเพจอื่น ๆ ที่มาจากหน้า SERP เดียวกัน อาจมีค่ามากในการทำอันดับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ
97. ลิงก์จากเว็บไซต์ที่ Google คาดไว้ “Expected” Websites: ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการยืนยัน แต่นักทำ SEO หลายคนเชื่อว่า Google จะยังไม่เชื่อถือเว็บของคุณ จนกว่าคุณจะได้รับลิงก์ จากเว็บที่ Google คาดหวังไว้ ในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณ
98. ลิงก์จากเว็บคุณภาพต่ำ (Bad Neighborhoods): ลิงก์ที่มีจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำต่าง ๆ เป็นผลเสียต่อเว็บคุณ
99. โพสต์จากผู้เยี่ยมชม (Guest Posts): ถึงแม้ว่าโพสต์ หรือความเห็นต่าง ๆ จากผู้ชมจะมีค่า แต่ก็ไม่เท่าเนื้อหาหลักของผู้เขียน (นอกจากนี้ การที่มีความเห็นจากผู้เยี่ยมชมมากจนเกินไปยังทำให้เว็บไซต์ของคุณเกิดปัญหาได้)
100. ลิงก์จากโฆษณา: ตามที่ Google ได้กล่าไว้แล้ว ลิงก์ที่มีจากโฆษณาจะเป็นชนิด no followed อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า Google จะสามารถแยกและคัดกรองลิงก์ followed ที่มาจากโฆษณาได้
101. Homepage Authority: ลิงก์ที่มาจาก homepage จะมีความสำคัญมากกว่า และมีน้ำหนักมากกว่าลิงก์จากเพจอื่น
102. ลิงก์ Nofollow: เป็นหัวข้อที่มีการโต้แย้งกันมากในเรื่องของ SEO Google ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า

“In general, we don’t follow them.”
ซึ่งหมายความเป็นนัยว่า Google ตามออกไปในบางกรณี … อย่างน้อยก็มีหลุดไปบ้าง การมีจำนวน % nofollow links อาจเป็นตัวชี้วัดได้ถึงความเป็นธรรมชาติของ link profile
103. ความหลากหลายของชนิดของลิงก์: การมีลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติในเพจมากจนเกินไป หรือจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง (เช่น จาก forum หรือจากความคิดเห็นในบทความ) อาจเป็นสัญญาณสื่อถึง webspam หรือในทางกลับกัน ลิงก์ที่มาจากแหล่งต่าง ๆ หลายแหล่ง แสดงถึงความเป็นธรรมชาติของ link profile
104. “Sponsored Links” หรือลิงก์โฆษณาที่อยู่รอบ ๆ: คำพูดต่าง ๆ เช่น “โฆษณา”, “link partners” และ “ลิงก์โฆษณา” อาจลดคุณค่าของลิงก์นั้นลง
105. ลิงก์เนื้อหา (Contextual Links): ลิงก์ที่ฝังอยู่ในหน้าเพจที่มีเนื้อหา จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นลิงก์ที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับลิงก์ที่อยู่ในหน้าว่าง ๆ หรืออยู่ส่วนอื่น ๆ ของเพจ
106. ลิงก์ที่มาจาก 301 Redirect: Backlinks ที่มาจาก 301 redirects จะทำให้คุณค่าของเพจนั้นลดลงตามที่กล่าวใน Webmaster Help Video
107. ลิงก์ภายในแบบ Anchor Text: ลิงก์ภายในแบบ anchor text เป็นอีกวิธีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ถึงแม้ว่าลิงก์ภายในจะมีคุณค่าน้อยกว่าลิงก์ anchor text ที่มาจากภายนอกเว็บไซต์ก็ตาม
108. Link Title Attribution: ลิงก์ชื่อเรื่อง (คำที่ปรากฏเมื่อเอาเม๊าส์ไปวางบนลิงก์) อาจส่งสัญญาณเล็กน้อย แสดงถึงความสัมพันธ์
109. Top Level Domain ของประเทศ: การที่เราได้ลิงก์จากเว็บที่มีสกุลของประเทศ (.th, .cn, .co.uk) อาจช่วยให้คุณทำอันดับได้ดีขึ้นในประเทศนั้น ๆ
110. ตำแหน่งของลิงก์ในเนื้อหา: ลิงก์ที่อยู่ในตำแหน่งส่วนต้นของเนื้อหา อาจได้รับความสำคัญมากกว่าลิงก์ที่อยู่ส่วนท้ายของเนื้อหา

111. ตำแหน่งของลิงก์ในหน้าเพจ: ตำแหน่งของลิงก์ในหน้าเพจนั้น มีความสำคัญ โดยทั่วไปแล้ว ลิงก์ที่ถูกฝังอยู่ในหน้าเพจนั้น มีพลังมากกว่าลิงก์ที่อยู่ในส่วนของ footer หรือ sidebar
112. ลิงก์จากเว็บไซต์ที่คล้ายกัน: ลิงก์จากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน จะมีพลังมากกว่าลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ เลย
113. ความสัมพันธ์ระดับเพจ: ลิงก์จากเพจที่มีความสัมพันธ์กัน จะมีพลังมากกว่า
114. คีย์เวิร์ดในส่วนชื่อเรื่อง: Google ให้ความสำคัญเป็นพิเศษจากลิงก์ที่มาจากเพจที่ชื่อเรื่องมีลิงก์ของคุณฝังอยู่ (“Experts linking to experts”.)
115. อัตราการได้รับลิงก์ที่ดี (Positive Link Velocity): เว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์ที่ดี ในอัตราที่เพิ่มขึ้น มักจะได้รับอันดับที่ดีขึ้น และช่วยให้เว็บคุณมีผู้ชมมากขึ้นด้วย
116. อัตราการได้รับลิงก์ที่ไม่ดี: ในทางกลับกัน หากคุณได้รับลิงก์ที่ไม่ดีอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้อันดับลดลง และผู้ชมน้อยลงตามไปด้วย
117. ลิงก์ที่มาจาก “Hub” ต่าง ๆ: จากรายงานของ The Hilltop Algorithm ชี้ให้เห็นว่า การได้รับลิงก์จากเว็บที่เป็น Hub ต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น Yahoo, DMOZ หรือเว็บไซต์มหาวิทยาลัย หรือสถาบันต่าง ๆ นั้น จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
118. ลิงก์จาก Authority Sites: ลิงก์ที่มาจาก “authority site” จะได้รับคะแนนมากกว่าลิงก์ที่มาจากเว็บที่ไม่มีชื่อเสียง หรือเว็บเล็ก ๆ ไม่เป็นที่รู้จัก
119. ลิงก์ที่มาจาก Wikipedia: ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิด nofollow แต่นักทำ SEO หลายคนคิดว่า การได้รับลิงก์จาก Wikipedia จะช่วยให้เว็บของคุณ มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นในมุมมองของ search engines
120. คำ ที่อยู่รอบ ๆ backlinks: คำ ที่อยู่รอบ ๆ backlinks จะช่วยบอก Google ว่า เพจนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
121. อายุของ Backlink: จากสิทธิบัตรของ Google, ลิงก์ที่มีอายุมาก จะมีพลังมากกว่าลิงก์ที่เกิดขึ้นใหม่
122. ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริง เทียบกับกับ Spam Blogs: จากการที่เครือข่ายบทความมีขนาดที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก Google อาจเลือกที่จะให้ความสำคัญจากลิงก์มีมากจาก “real sites” เว็บไซต์จริง มากกว่า fake blogs โดย Google เลือกใช้ brand และ การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นตัวคัดแยกความแตกต่าง
123. ความเป็นธรรมชาติของ Link Profile: เว็บไซต์ที่มีความเป็นธรรมชาติของ link profile มากกว่า และอัพเดทบ่อยกว่าจะได้รับอันดับที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับลิงก์ที่ใช้เทคนิคสายดำในการสร้างขึ้น
124. การแลกเปลี่ยนลิงก์ซึ่งกันและกัน: Google’s Link Schemes ได้กล่าวไว้ว่า “การมีการแลกเปลี่ยนลิงก์กันมากเกินไป” เป็นแนวทางที่ควรหลีกเลี่ยง
125. ลิงก์ที่ผู้เยี่ยมชมสร้างขึ้น: Google สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง ลิงก์ที่ผู้เยี่ยมชมสร้าง กับเนื้อหาที่สร้างโดยเจ้าของเว็บไซต์ เช่น ความแตกต่างระหว่างลิงก์จากบทความใน WordPress.com แตกต่างกับลิงก์จาก example.wordpress.com
126. ลิงก์จาก 301: ลิงก์ที่มาจาก 301 redirects อาจมีค่าน้อยกว่าลิงก์ปกติ อย่างไรก็ตาม Matt Cutts ได้กล่าวไว้ว่า ลิงก์จาก 301 นั้นคล้ายกันกับลิงก์ปกติ
127. การใช้งาน Schema.org: เพจที่สนับสนุน microformat ต่าง ๆ อาจทำอันดับได้ดีกว่าเพจที่ไม่มี ซึ่งการที่มี microformat อาจมีผลช่วยให้ %CTR สูงขึ้นในหน้า SERP

128. TrustRank ของเว็บไซต์ที่ลิงก์มา: ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่ลิงก์มา จะมีการส่งผ่าน “TrustRank” มายังเว็บคุณด้วย
129. จำนวนของลิงก์ที่ส่งออกจากเพจ: PageRank นั้นมีจำนวนจำกัด ลิงก์จากเพจที่มีจำนวนลิงก์ส่งออกภายนอกมากหลายร้อยลิงก์ จะส่งผ่าน PageRank น้อยกว่าเพจที่มีลิงก์ส่งออกไม่มากนัก
130. ลิงก์จากฟอรั่ม: เนื่องจากมีการสแปมเกิดขึ้นมากมายในฟอรั่ม Google จึงลดค่าของลิงก์จากฟอรั่มลง
131. จำนวนคำของเนื้อหาที่มีลิงก์นั้นอยู่: ลิงก์จากเนื้อหาที่มีความยาว 1000 คำ มีค่ามากกว่าลิงก์จาก snippet 25 คำ
132. คุณภาพของเนื้อหาที่ลิงก์นั้นอยู่: ลิงก์จากเนื้อหาที่มีการ spun (สลับคำโดยใช้โปรแกรม) หรือเนื้อหาคุณภาพต่ำ จะมีค่าน้อยกว่าลิงก์จากเนื้อหาคุณภาพดี
133. Sitewide Links: Matt Cutts ออกมายืนยันว่า sitewide links หรือลิงก์ที่กระจายอยู่ทั่วเว็บนั้น จะถูกบีบอัด “compressed” และนับเป็นแค่ 1 ลิงก์
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
134. RankBrain: RankBrain เป็นอัลกอริทึมหนึ่งของ Google หลายคนเชื่อว่ามีจุดประสงค์ในการวัดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับผลการค้นหาของ Google (และทำการจัดอันดับผลลัพธ์ตามลำดับ)
135. Organic CTR สำหรับคีย์เวิร์ด: ตามที่ Google ได้กล่าวไว้ เพจที่ได้รับ CTR มากกว่าจะได้รับอันดับใน SERP มากขึ้น สำหรับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ
136. Organic CTR สำหรับคีย์เวิร์ดทั้งหมด: Organic CTR ของเว็บไซต์สำหรับทุกคีย์เวิร์ด อาจเป็นสัญญาณปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “เป็นคะแนนคุณภาพ สำหรับ organic result“)
137. อัตราการตีกลับ: นักทำ SEO บางคนเห็นว่า อัตราการตีกลับนั้นไม่มีผลต่อการทำอันดับ แต่การวัดอัตราการตีกลับอาจเป็นวิธีที่ Google ใช้ทดสอบคุณภาพของเว็บไซต์ (สรุปคือ เพจที่มีอัตราการตีกลับสูงนั้น ไม่น่าจะใช้ผลลัพธ์ที่ดี สำหรับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ) ดังนั้น จากการศึกษาของ SEMRush พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการตีกลับ กับอันดับของ Google

138. การพิมชื่อโดเมนโดยตรงใน Chrome: Google ออกมายืนยันว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome ในการระบุถึงความถี่ในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่มีการพิมชื่อโดเมนโดยตรงจะได้รับคะแนนที่สูงกว่า และจัดว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพมากกว่า ในความเป็นจริงแล้วจากการศึกษาของ SEMRush พบถึงความสำพันธ์ระหว่างการพิมเว็บไซต์โดยตรง กับอันดับ Google
139. การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ซ้ำ: เว็บไซต์ ที่มีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ซ้ำ จะได้รับการโหวตจาก Google มากขึ้น
140. Pogosticking: “Pogosticking” เป็นการตีกลับออกจากเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง ในกรณีนี้ ผู้ชมคลิ๊กเข้าไปจากแถบค้นหาเพื่อหาคำตอบที่เขาต้องการจากการค้นหาของเขา แต่ไม่พบคำตอบ ก็เลยกดย้อนกลับ
ผลการค้นที่ใดก็ตามที่ผู้เยี่ยมชม Pogostick อาจได้รับคะแนนอันดับที่ลดลง

141. เว็บไซต์ที่ถูกบล็อค: Google ได้ยกเลิกคุณสมบัตินี้ใน Chrome แล้ว อย่างไรก็ตาม Panda ยังคงใช้คุณสมบัตินี้แสดงถึง คะแนนคุณภาพ ดังนั้น Google อาจยังคงใช้งานคุณสมบัตินี้อยู่บ้าง
142. บุ๊กมาร์กใน Chrome: เราทราบกันดีว่า Google นั้นเก็บข้อมูลผู้ใช้ Chrome หน้าเพจที่เราทำบุ๊กมาร์กไว้ อาจได้รับการขึ้นอันดับ
143. จำนวนความเห็น: เพจที่มีความคิดเห็นจำนวนมาก อาจเป็นสัญญาณที่ดีในด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เยี่ยมชม ในความเป็นจริงแล้วพนักงาน Google คนหนึ่งเคยกล่าวไว้ ว่าสามารถช่วยเพิ่มอันดับได้ดีมาก
144. ระยะเวลาที่อยู่ในหน้าเพจ (Dwell Time): Google ให้ความสำคัญอย่างมากเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้เยี่ยมชม อยู่ในหน้าเพจ หลังจากคลิ๊กเข้ามาจากหน้าค้นหาของ Google ซึ่งบางครั้งอาจหมายถึง “long clicks เทียบกับ short clicks” กล่าวโดยสรุปคือ Google วัดระยะเวลาที่ผู้ชมใช้ในหน้าเพจของคุณ ยิ่งนาน ยิ่งดี
กฎ และอัลกอริทึมพิเศษต่าง ๆ จาก Google
145. การค้นหาต้องเป็นอะไรที่สดใหม่: Google ให้คะแนนเพิ่มเติมกับเพจที่มีเนื้อหาที่สดใหม่
146. ผลการค้นหาต้องมีความหลากหลาย: Google อาจเพิ่มความหลากหลายในหน้า SERP สำหรับคำค้นหาที่กำกวมเช่น “Ted”, “WWF” หรือ “ruby”
147. ประวัติการ browsing ส่วนบุคคล: คุณอาจเคยสังเกตได้ด้วยตัวเอง เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปชมบ่อย ๆ มักจะอยู่ในผลการค้นหาต้น ๆ ในหน้า SERP
148. ประวัติการค้นหาส่วนบุคคล: การค้นหาต่อเนื่อง หลังจากการค้นหาครั้งแรก ยกตัวอย่างเช่น หากคุณค้นหาคำว่า “รีวิว” จากนั้นค้นหาอีกครั้งคำว่า “เครื่องปิ้งขนมปัง” Google อาจให้อันดับของ รีวิวเครื่องปิ้งขนมปัง สูงขึ้นในหน้า SERP
149. Featured Snippets: จากการศึกษาของ SEMRush Google เลือกแสดง Featured Snippets โดยการเอาความยาวเนื้อหา รูปแบบ page authority และการใช้ HTTPs มาพิจารณา
150. Geo Targeting: Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มี server IP และสกุลโดเมนประเทศ
151. การค้นหาต้องปลอดภัย: ผลการค้นหาเกี่ยวกับเนื้อหาทางเพศต่าง ๆ จะไม่แสดง สำหรับคนที่เปิดฟังก์ชั่น safe search
152. Google+: ถึงแม้ว่า Google+ จะไม่เป็นที่นิยมเลยก็ตาม Google ยังคงให้ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้แต่ง หรือเว็บไซต์ที่พยายามเพิ่มเนื้อหาให้ Google Plus
153. คีย์เวิร์ด “YMYL”: Google นั้นให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ดในกลุ่มที่เกี่ยวกับเงิน และสุขภาพ “Your Money หรือ Your Life” มากเป็นพิเศษ และต้องมาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
154. DMCA Complaints: Google “ลดอันดับ” เพจที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ดิจิทัลต่าง ๆ
155. ความหลากหลายของโดเมน: หรือที่เรียกว่า “Bigfoot Update” เป็นการเพิ่มจำนวนโดเมนในแต่ละหน้า SERP
156. การค้นหาที่มีการทำธุรกรรม: Google บางครั้งก็แสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนั้น ๆ เช่น ผลการค้นหาเที่ยวบิน

157. Local Searches: สำหรับ local searches บ่อยครั้งที่ Google เลือกที่จะแสดงผลการค้นหาในภูมิภาคนั้น ๆ มากกว่าผลการค้นหาปกติในหน้า SERPs
158. เรื่องเด่น (Top Stories box): คีย์เวิร์ดบางคำ จะทำให้ Google แสดง Top Stories box

159. Big Brand Preference: หลังจากที่ได้ทำการอัพเดท Vince Update Google ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการโปรโมทแบรนด์สินค้า สำหรับคีย์เวิร์ดในกลุ่มนั้น ๆ
160. ผลการค้นหาสินค้า: บางครั้ง Google ก็แสดงผลการค้นหาสินค้าของ Google ในหน้า SERPs

161. ผลการค้นหารูปภาพ: บางครั้ง Google ก็แสดงรูปภาพในการค้นหาปกติ
162. Easter Egg Results: Google นั้นมี Easter Egg results เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น หากเราค้นหาคำว่า “เครื่องคิดเลข” Google ก็จะแสดงเครื่องคิดเลขของ Google ขึ้นมาด้านบนสุด เป็นต้น
163. ผลการค้นหาสำหรับแบรนด์: โดเมน หรือคีย์เวิร์ดที่สัมพันธ์กับชื่อแบรนด์ อาจได้ผลลัพธ์หลายอันในหน้าเดียว
164. การอัพเดท Payday Loans: เป็นอัลกอริทึมพิเศษจากทาง Google ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับผลการค้นหาที่เป็นสแปมมากเกินไป “very spammy queries”
ความเป็นแบรนด์
165. Brand Name Anchor Text: Branded anchor text นั้นทำได้ง่าย — แต่มีพลัง — ในการสร้าง brand signal
166. การค้นหาแบรนด์: เมื่อมีคนค้นหาแบรนด์ของคุณใน Google เป็นการส่งสัญญาณบอก Google ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเป็นแบรนด์จริง ๆ
167. การค้นหาชื่อแบรนด์ร่วมกับคีย์เวิร์ด: มีคนค้นหาคีย์เวิร์ดร่วมกับชื่อแบรนด์ของคุณหรือไม่ (เช่น “courseblue สอน wordpress” หรือ “courseblue SEO”)? ถ้ามี Google อาจให้คะแนนคีย์เวิร์ดคำนั้นเพิ่ม ในหน้าการค้นหาที่ไม่มีชื่อแบรนด์
168. เว็บที่มีหน้า Facebook Page และ Likes: Brand ต่าง ๆ มักจะมีหน้า Facebook ที่มียอดไลค์จำนวนมาก
169. เว็บไซต์ที่มี Twitter Profile และมี Followers: การมี Twitter profiles และมี followers แสดงให้เห็นถึงความเป็นแบรนด์ที่เป็นที่นิยม
170. มีหน้า Linkedin ของบริษัท: บริษัทที่ทำธุรกิจจริง ๆ มักมีหน้า Linkedin
171. Known Authorship: ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013, Google CEO Eric Schmidt กล่าวว่า:

“Within search results, information tied to verified online profiles will be ranked higher than content without such verification, which will result in most users naturally clicking on the top (verified) results.”
172. บัญชี Social Media ที่ถูกต้อง: บัญชี social media ทีมีผู้ติดตาม 10,000 followers และมี 2 โพสต์นั้น แตกต่างอย่างมากกับบัญชีที่มี 10,000 followers และมีปฏิสัมพันธ์มากมายกับผู้เยี่ยมชม ในความเป็นจริง Google ได้จดสิทธิบัติเกี่ยวกับว่า บัญชี social media นั้น เป็นของจริง หรือของปลอม
173. การใช้ชื่อแบรนด์ในการเริ่มต้นชื่อเรื่อง: แบรนด์ยักษ์ใหม่มักจะใช้ชื่อแบรนด์ในการเริ่มต้นเสมอ บางแบรนด์นั้นตีพิมข่าวจากหน้าเพจตนเอง ในหน้าแรก
174. การมีการพูดชื่อแบรนด์ แต่ไม่มีลิงก์: แบรนด์ที่ได้รับการกล่าวถึง แต่ไม่มีลิงก์ Google นั้นก็ให้ความสำคัญว่าเป็น brand signal
175. ตำแหน่งที่ตั้งที่ทำงาน: ธุรกิจที่แท้จริงจะมีที่ตั้งที่ทำงาน เป็นไปได้ว่า Google จะใช้ข้อมูลที่ตั้งมาเป็น brand signal
ปัจจัยด้านเว็บสแปมบนหน้าเว็บ
176. ถูกทำโทษโดย Panda: เว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง content farms) จะถูก Panda ทำโทษและทำให้ผลการมองเห็นจาก Google ลดลง
177. ลิงก์ที่ส่งออกไปยังเว็บไซต์ที่ไม่ดี: ลิงก์ที่ออกไปยังเว็บไซต์สแปม “bad neighborhoods” — เช่นเว็บโฆษณายาต่าง ๆ จะทำให้ผลการมองเห็นจาก Google ลดลง
178. Redirects: การมีการ Redirects ออกไปจากเพจ หรือการทำให้ Googlebot เห็นต่างจากผู้ใช้ทั่วไป “Cloaking” หากจับได้ จะถูกทำโทษ และไม่ได้รับการจัดอันดับ
179. ป๊อบอัพ หรือ โฆษณาที่บังเนื้อหาต่าง ๆ: จากเอกสาร Google Rater Guidelines Document กล่าวว่า การมีป๊อบอัพ หรือโฆษณาบังเนื้อหาต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ
180. ป๊อบอัพในหน้ามือถือที่บังเนื้อหา: Google จะลงโทษเว็บไซต์ที่มีป๊อบอัพบังเนื้อหาในหน้ามือถือของผู้ใช้

181. เว็บไซต์ที่ Over-Optimization: แน่นอนว่า Google ทำโทษคนที่ over-optimize เว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วย การใส่คีย์เวิร์ดมากเกินไป การใส่ header tag มากเกินไป หรือการตกแต่งบทความด้วยคีย์เวิร์ดมากเกินไป
182. เนื้อหาที่อ่านไม่รู้เรื่อง (Gibberish Content): จากสิทธิบัติของ Google ระบุว่า Google สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเนื้อหาที่อ่านไม่รู้เรื่อง เช่น เนื้อหาที่เกิดจากการ spun หรือสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ กับเนื้อหาที่แต่งขึ้นโดยมนุษย์ได้
183. Doorway Pages: Google ต้องการให้หน้าเพจที่คุณแสดงให้ Google เห็น เป็นหน้าเพจแบบเดียวกับที่ผู้ใช้ทั่วไปเห็น หากมีการ redirects ผู้ใช้ไปที่อื่น หรือที่เรียกว่า “Doorway Page” ก็ไม่ต้องคุยกันให้มาก Google ไม่ชอบแน่นอน
184. มีแต่โฆษณาเต็มไปหมด: จากอัลกอริทึมในการตรวจหน้าเพจของ Google “Page Layout Algorithm” จะทำโทษเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยโฆษณา และมีเนื้อหาเพียงนิดเดียว
185. การซ่อน Affiliate Links: การพยายามมากเกินไปในการซ่อน affiliate links (โดยเฉพาะการทำ cloaking) จะทำให้โดนแบนได้
186. Fred: เป็นชื่อเล่นสำหรับการอัพเดทหลายอย่างของ Google ในปี 2017 จากรายงานของ Search Engine Land, Fred “ค้นหาเว็บไซต์คุณภาพต่ำที่พยายามสร้างรายได้ มากกว่าพยายามช่วยผู้ใช้”
187. Affiliate Sites: แน่นอนว่า Google ไม่ชอบ affiliate และหลายคนคิดว่าเว็บไซต์ที่พยายามมี affiliate ต่าง ๆ นั้น จะมีค่าลดลง
188. เนื้อหาที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ: Google นั้นเข้าใจ และเกลียดเนื้อหาที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติเป็นอย่างมาก หากจับได้จะถูกทำโทษทันที
189. การพยายามปั้น PageRank มากเกินไป: การพยายามปั้น PageRank หรือการขึ้น PageRank ที่เร็วเกินไป เป็นสัญญาณที่ไม่ดี และอาจโดนแบนได้
190. IP Address นั้นถูกระบุว่าเป็นสแปม: หาก IP address ของคุณได้รับการระบุว่าเป็นสแปม จะมีผลต่อเว็บไซต์ทั้งหมดใน server นั้น
191. Meta Tag Spamming: การที่เรามีคีย์เวิร์ดมากเกินไปในส่วน meta tags หาก Google คิดว่าคุณพยายามที่จะแทรกคีย์เวิร์ดเข้าไปในส่วนของ title และ description tags ในลักษณะที่ผิดปกติเพื่อหลอก Google อาจทำให้ถูกทำโทษได้
ปัจจัยด้านเว็บสแปมจากภายนอก
192. การไหลเข้ามาของลิงก์แบบไม่เป็นธรรมชาติ: การมีลิงก์เป็นจำนวนมากไหลเข้ามาแบบไม่เป็นธรรมชาติ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงลิงก์ปลอม
193. การโดนแบนจาก Penguin: เว็บไซต์ที่ถูกทำโทษโดย Google Penguin จะถูกลดอันดับลง ถึงว่ามาปัจจุบัน Penguin จะพยายามคัดกรองหน้าเพจที่มีลิงก์เสียมากกว่าจะแบนไปเลยทั้งเว็บ
194. Link Profile ที่มีลิงก์คุณภาพต่ำในประมาณมาก: ลิงก์จำนวนมากที่มาจากแหล่งสร้างลิงก์สายดำ (เช่น ความเห็นบทความ และความเห็นบนฟอรั่ม) อาจเป็นสัญญาณที่กำลังโกง Google
195. ลิงก์จากเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้อง: การมี backlinks จำนวนมากที่มาจากเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ อาจทำให้เพจโดนแบนได้
196. คำเตือนจาก Google เกี่ยวกับลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ: Google ส่งคำเตือนมากมายไปยัง “Google Search Console” ของเจ้าของเว็บ ว่าตรวจพบลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งทำให้อันดับลดลง แต่ก็ไม่เสมอไป
197. Backlinks คุณภาพต่ำ: จากที่ Google ได้กล่าวเอาไว้ backlinks ที่มีคุณภาพต่ำต่าง ๆ จะทำให้ถูกทำโทษได้
198. ลิงก์ Widget: Google มักตั้งข้อสงสัย และไม่ชอบลิงก์ที่สร้างขึ้นอัตโนมัติและฝังบน “widget” ของเว็บไซต์นั้น ๆ
199. ลิงก์ที่มาจาก Class C IP เดี่ยวกัน: การได้รับลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติจากเว็บไซต์ที่อยู่บน server IP เดียวกัน อาจทำให้ Google จำแนกได้ว่าคุณได้รับลิงก์มาจากเครือข่าย blog network เดียวกัน
200. Anchor Text ที่ไม่ดี “Poison”: การมี “poison” anchor text (โดยเฉพาะคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับยาต่าง ๆ) ชี้มาที่เว็บไซต์ของคุณ อาจถูกพิจารณาได้ว่าเว็บของคุณโดนแฮ็ก หรือสแปม และส่งผลเสียต่อการทำอันดับ
201. ลิงก์ที่ผิดธรรมชาติ: จากสิทธิบัติของ Google ในปี 2013 ระบุว่า Google สามารถแยกได้ว่าลิงก์ที่มายังเพจของเรานั้น เป็นลิงก์ที่ถูกต้องหรือไม่ หากเป็นลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ ก็จะถูกลดค่าลง
202. ลิงก์จากบทความและข่าวประชาสัมพันธ์: บทความ และข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ มักฝังลิงก์เอาไว้ และ Google พิจารณาว่าเป็นกลวิธีในการสร้างลิงก์ในหลายกรณี
203. การกระทำสายดำต่าง ๆ: ซึ่งมีหลายวิธีเกี่ยวกับการสร้างลิงก์สายดำ ถ้า Google จับได้ ก็จะถูกทำโทษ
204. การขายลิงก์: หาก Google จับได้ ว่าคุณขายลิงก์ คุณอาจถูกทำโทษโดยการลดระดับความสำคัญลง
205. Google Sandbox: เว็บไซต์เกิดใหม่ที่อยู่ ๆ ก็มีลิงก์หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก จะทำให้เว็บไซต์นั้น ติดหลุมทรายของ Google หรือที่เรียกว่า Google Sandbox ซึ่งจำกัดการมองเห็นเว็บไซต์นั้น
206. Google Dance: Google Dance เป็นการพยายามทำให้อันดับ Google สูงขึ้นมาแบบทันทีทันใด จากสิทธิบัติของ Google อาจบอกได้ว่าเว็บนั้นพยายามที่จะโกง Google อยู่

207. Disavow Tool: เราสามารถใช้ the Disavow Tool ในการที่จะลบลิงก์สายดำต่าง ๆ ทั้งหมดที่ชี้มายังเว็บเรา ในกรณีที่เราตกเป็นเหยื่อของการทำ SEO สายดำ
208. คำขอให้ Google พิจารณาใหม่: หลังจากที่ Google ได้พิจารณาเพจนั้นใหม่แล้ว โทษทัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะถูกลบออก
209. โครงร่างลิงก์ชั่วคราว: Google นั้นสามารถตรวจจับได้ถึงคนที่สร้าง — และลบลิงก์อย่างรวดเร็ว — หรือการทำลิงก์สแปมต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าโครงร่างลิงก์ชั่วคราว ซึ่งควรหลีก
บทสรุป
เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับบทความปัจจัยการจัดอันดับ Google เป็นบทความที่ยาวมาก หากเพื่อนๆ มีคำถามสอบถามเพิ่มเติม หรือสงสัย จุดไหนไม่เข้าใจ หรือบทความปัจจัยการจัดอันดับ Google นี้มีข้อผิดพลาดประการใด สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยครับ
ขอขอบคุณเรื่องจาก backlinko มา ณ ที่นี้ครับ