ทำ SEO ด้วยตัวเอง ให้ติดอันดับ Google

ทำ SEO ด้วยตัวเอง

ทำ SEO ด้วยตัวเอง ง่าย ๆ ให้ติดอันดับใน search engines, ง่ายต่อการอ่าน, และเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวม การจะมีเว็บไซต์ที่ทำอันดับได้ดีในหน้าผลการค้นหาของ search engines ใช้งานง่าย และโหลดเร็วนั้น จะช่วยเพิ่ม traffic ได้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ออกจากเว็บเร็วเกินไป และยังช่วยให้คุณภาพโดยรวมของเว็บไซต์ดีขึ้นด้วย

สารบัญวิธีการ ทำ SEO ด้วยตัวเอง

1. ปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณให้เหมาะกับ Search Engines

1.1 วิเคราะห์และศึกษาเว็บไซต์ของตนเอง
1.2 ตรวจสอบเว็บไซต์ของคู่แข่งทั้งหลาย
1.3 ค้นหาคีย์เวิร์ด
1.4 วางคีย์เวิร์ดในเนื้อหาอย่างเหมาะสม
1.5 ใส่ meta และ title tags
1.6 หมั่นตรวจสอบ และพัฒนา traffic reports
1.7 หมั่นสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ
1.8 หาเว็บไซต์อื่น ๆ ลิงก์มาหาคุณ
1.9 สร้าง site map
1.10 หลีกเลี่ยงการใช้เฟรม ถ้าเป็นไปได้
1.11 ตรวจทานความถูกต้องของ HTML code
1.12 ปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ตามสมควร
1.13 ใช้ CTA (Call to Action) ในเนื้อหา

2. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

2.1 ใช้ URL ที่อ่านได้ง่าย
2.2 สร้างเพจ 404
2.3 ควรมีส่วนของ site navigation
2.4 ทำเนื้อหาให้กระชับ ตรงประเด็น
2.5 เว็บไซต์ของคุณต้องอ่านง่ายในอุปกรณ์มือถือ

3. ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

3.1 ลดการใช้งานปลั๊กอินต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น
3.2 ปรับปรุงคุณภาพรูปภาพ
3.3 ลดขนาด CSS และ JavaScript code
3.4 ใช้ PHP เวอร์ชันล่าสุด
3.5 ตรวจดูการ caches files ของเว็บไซต์ว่าไม่ได้มาจากหน่วยความจำภายนอก

1.1 วิเคราะห์และศึกษาเว็บไซต์ของตนเอง

ขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO คือการวิเคราะห์เว็บไซต์ของตอนเอง เพื่อหาข้อผิดพลาดว่าอะไรควรได้รับการแก้ไข อะไรจำเป็นต้องเปลี่ยน ขั้นตอนนี้รวมไปถึงการดูในส่วนของเมนูต่าง ๆ การเข้าถึงเนื้อหา และองค์ประกอบโดยรวมว่าใช้งานง่าย สวยงามหรือไม่ หลังจากที่เราพบข้อผิดพลาดแล้ว (เช่น บางหน้าโหลดช้า หรือบางหน้าไม่มีผู้ชม) เราสามารถเข้าไปทำการแก้ไขได้ตรงจุด ตรงประเด็น

  • เป็นการดีที่มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพเว็บไซต์อย่างเป็นขั้นตอน
  • ระลึกไว้เสมอว่า search engines นั้น มองเว็บไซต์ของเราที่ชื่อโดเมน, title tags, และ header tags คุณต้องไม่ละเลยที่จะปรับปรุงแก้ไขจุดนี้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของ search engines นอกจากนี้ เนื้อหาภายใน ต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ search engines ต้องการค้นหาในหน้าเว็บไซต์ของคุณอีกด้วย

1.2. ตรวจสอบเว็บไซต์ของคู่แข่งทั้งหลาย

รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง การที่คุณตรวจสอบเว็บไซต์ของคู่แข่ง จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน คุณจะเข้าใจว่าจะต้องทำอะไรในการที่จะเอาชนะคู่แข่ง ถ้าหากคุณสามารถหาคู่แข่งตัว 5 – 10 อันดับแรกได้ในธุรกิจเดียวกันกับคุณ หาจุดแข็ง ว่าพวกเขาใช้วิธีอะไรในการขึ้นอันดับ รวมไปถึงคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งใช้ และโครงสร้างของเว็บคู่แข่ง

คุณอาจไม่ต้องการที่จะคัดลอกคู่แข่งทุกอย่าง การรู้ถึงกลยุทธ์ของคู่แข่ง จะช่วยให้คุณหาจุดอ่อนของตนเองได้

ตรวจสอบเว็บไซต์ของคู่แข่งทั้งหลาย

1.3. ค้นหาคีย์เวิร์ด

เลือกใช้คีย์เวิร์ดที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของคุณ วิธีนี้จะช่วยนำผู้คนเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณได้ คีย์เวิร์ดที่สัมพันธ์กับเนื้อหาโดยรวม รวมไปถึงคีย์เวิร์ดเฉพาะเจาะจงต่าง ๆ หากคุณยังไม่มันใจว่าคีย์เวิร์ดไหนเป็นที่นิยมค้นหา มีเครื่องมือดี ๆ มากมายในโลกออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณค้นหาคีย์เวิร์ดที่ต้องการได้ และเครื่องมือหลายตัวก็สามารถใช้งานได้ฟรี คลิ๊ก เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาคีย์เวิร์ด

ค้นหาคีย์เวิร์ด

1.4. วางคีย์เวิร์ดในเนื้อหาอย่างเหมาะสม

การวางคีย์เวิร์ดในเนื้อหาอย่างถูกต้อง เหมาะสมจะช่วยให้เว็บไซต์นั้น ทำงานได้ดีใน search engines มีความเป็นไปได้ที่ search engine bots อาจมีการทำโทษในการสแปมคีย์เวิร์ด ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้คีย์เวิร์ดอย่างถูกต้อง:

  • ใช้คีย์เวิร์ดกว้าง ๆ ในหน้า home page
  • แทรกคีย์เวิร์ดในส่วนของ header tags, title tags, และ meta tags
  • แทรกคีย์เวิร์ดในส่วนของ anchor text และใช้ในการอธิบายลิงก์
  • ใช้คีย์เวิร์ดในส่วนของ URL สำหรับหน้าใหม่
วางคีย์เวิร์ดในเนื้อหาอย่างเหมาะสม

1.5. ใส่ meta และ title tags

ในส่วนของ HTML meta tag นั้น จะเป็นส่วนที่ไม่แสดงบนหน้าเว็บไซต์แต่อย่างใด มีเพียง search engines และ bots ต่าง ๆ เท่านั้น ที่เห็นข้อมูลในส่วนนี้ วิธีการที่คุณสามารถใช้ meta tags ในการเพิ่มอันดับเว็บไซต์มีดังต่อไปนี้:

  • ใส่ meta title tag ในแต่ละหน้า เพื่อเป็นการบอก search engines ถึงเนื้อหาของหน้านั้น
  • เขียน meta description tag ที่ตรงประเด็น เพราะมันมักจะถูกใช้งานโดย search engines ในการบรรยายสั้น ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาในหน้า search results
  • ใส่ meta keyword tag ไปด้วย เพื่อเป็นการบอกถึงคีย์เวิร์ดที่สำคัญในแต่ละหน้า เป็นการแจ้งให้ search engine bots ทราบ
  • ระลึกไว้เสมอว่า search bots ของทาง Google นั้น ไม่อ่านข้อมูล meta keywords แต่ search engines อื่น ๆ ยังมีการอ่านข้อมูลในส่วนนี้อยู่บ้าง
ใส่ meta และ title tags

1.6. หมั่นตรวจสอบ และพัฒนา traffic reports

รายงาน traffic reports เหล่านี้ ใช้ในการบอกสถานะของ traffic ที่เข้ามาในเว็บไซต์ รวมถึงชนิดของ traffics ว่ามาจากอุปกรณ์ใด รวมไปถึงแหล่งที่มีของ traffic หน้าเพจที่เป็นที่นิยม และอันดับในปัจจุบัน หากคุณยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ web traffic คุณอาจมีความจำเป็นต้องเข้ามาดูรายงาน traffic reports บ้าง เดือนละครั้ง เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบัน

  • การนับจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
  • ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำ SEO เพราะรายงานเหล่านี้จะถูกนำไปใช้วัดความสำเร็จ และตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเว็บ ทำให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ได้อย่างถูกทาง
traffic reports

1.7. หมั่นสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ

เนื้อหาใหม่ ๆ นั้นเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ชมนั้น กลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และจะทำให้อันดับใน search engine ของคุณสูงขึ้นด้วย ทุกครั้งที่มีการเขียนเนื้อหาใหม่ ๆ พยายามให้แต่ละเพจที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้น มีเนื้อหาอย่างน้อย 350 คำ

  • อัพเดทเนื้อหาใหม่ ๆ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดี
newpost

1.8 หาเว็บไซต์อื่น ๆ ลิงก์มาหาคุณ

การสร้าง back links ที่ดี จะช่วยเพิ่มอันดับในหน้า search engines และเพิ่ม traffic ให้กับเว็บไซต์ ลองค้นหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน และลองขอให้ทำเนื้อหาลิงก์มายังเว็บคุณ

Search engines ส่วนใหญ่นั้นใช้จำนวนลิงก์คุณภาพที่ชี้มาที่คุณเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการจัดอันดับ การค้นหานักเขียน หรือเจ้าของเว็บที่มีเนื้อหาคล้ายกันกับคุณ จะช่วยให้คุณสามารถทำอันดับได้เป็นอย่างดี

หาเว็บไซต์อื่น ๆ ลิงก์มาหาคุณ

1.9 สร้าง site map

Sitemap เป็นไฟล์ XML ที่แสดงรายชื่อ URL ทุกอันในเว็บไซต์ของคุณ บางครั้งผู้ให้บริการโฮสติ้งก็เตรียมไฟล์นี้ไว้ให้ แต่บางครั้ง คุณอาจต้องเตรียมด้วยตัวเอง คุณอาจสามารถใช้ปลั๊กอินในการสร้าง site map ได้อย่างง่ายดาย และส่งต่อให้ Google ผ่าน Google search consoles

  • ค้นหาใน Google “submit a sitemap” เพื่อส่ง sitemap หรือส่งผ่าน Google Search consoles
  • การมี site map จะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบลิงก์ต่าง ๆ ภายในเว็บ ช่วยให้คุณสามารถอัพเดทลิงก์ดี และลิงก์เสีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพเพจ
  • หลังจากทำการอัพเดทลิงก์ต่าง ๆ แล้ว อย่าลืมอัพเดท site map ด้วย เพราะสาเหตุหลักที่คนออกจากเว็บ มาจากลิงก์เสียต่าง ๆ ภายในเว็บ
สร้าง sitemap

1.10 หลีกเลี่ยงการใช้เฟรม ถ้าเป็นไปได้

เฟรมนั้น ถูกนำมาใช้น้อยลงเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แยกเพจออกเป็นส่วน ๆ เพื่อแบ่งเนื้อหาต่าง ๆ และลดเวลาในการโหลด อย่างไรก็ตาม การใช้เฟรมอาจส่งผลให้ search engine bots ต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาได้ทั่ว ตลอดทั้งเว็บไซต์ การจัดทำ site map อาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้

หลีกเลี่ยงการใช้เฟรม

1.11 ตรวจทานความถูกต้องของ HTML code

ถึงแม้ว่า search engines จะไม่สนใจว่า HTML code ของคุณนั้นมีข้อผิดพลาดหรือไม่ แต่หาก HTML code นั้นมี errors ต่าง ๆ อาจเป็นไปได้ว่ามีเพียงบางส่วนของเนื้อหาเว็บคุณเท่านั้น ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ search engines

คุณสามารถใช้ W3C หรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการตรวจสอบ HTML code เพื่อหา errors ต่าง ๆ

1.12 ปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ตามสมควร

คุณอาจต้องปรับปรุงเว็บไซต์บ้าง ทุก ๆ สามเดือน ดูว่าทุกอย่างทำงานได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบรายงานต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือนเพื่อดูการทำงานของคีย์เวิร์ดต่าง ๆ อันไหนดีแล้ว อันไหนควรปรับแก้ การตรวจสอบและปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ จะช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่ม traffic ได้

1.13 ใช้ CTA (Call to Action) ในเนื้อหา

ในแต่ละ paragraph สั้น ๆ อาจมีปุ่ม take action ให้ผู้อ่านกดลิงก์, โทรศัพท์, หรือ add Line โดยส่วนใหญ่คุณอาจต้องมีลิงก์ให้ผู้อ่านได้เลือกคลิ๊ก

  • หากคุณทำสำเร็จ CTA เหล่านี้ จะช่วยเพิ่มเวลาที่ผู้อ่าน จะอยู่ในเว็บไซต์ของคุณ
  • เตรียมลิงก์ภายใน CTA จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการลิงก์ออกไปนอกเว็บไซต์

2. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

2.1 ใช้ URL ที่อ่านได้ง่าย

โดยค่าเริ่มต้นของเว็บไซต์นั้น URL จะอยู่ในรูปแบบของ “url/ตัวเลข” (เช่น https://yoursite.com/12345) ทำให้ยากต่อการอ่าน และยากต่อการจดจำ ให้เราเลือก URL ให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย และเราสามารถปรับเปลี่ยนตั้งชื่อได้ตามที่เราต้องการ เช่น https://yoursite.com/how-to-eat-salad เป็นต้น

การใช้คำใน URL ที่จดจำง่ายแทนที่จะใช้ตัวเลข นอกจากจะช่วยบอกถึงเนื้อหาภายในเพจได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังทำให้ง่ายเวลาส่งลิงก์ไปให้ผู้อื่นอ่าน เพราะจะทำให้ผู้อ่าน ทราบทันทีว่าเพจนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

2.2 สร้างเพจ 404

หน้าเพจ 404 นั้นจะแสดงออกมาให้เห็นเมื่อมีคนพิม URL ผิด หรือไม่ถูกต้อง โดยปกติหน้า 404 จะแสดงผลเป็น error แต่เราสามารถสร้างเพจ 404 เพื่อแสดงถึงแนวทางที่ผู้ชมจะปฏิบัติต่อไป

หน้า 404 ที่ดี ควรจะมีลิงก์ที่ส่งกลับไปยังหน้าหลัก หรืออาจมีสารบัญเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปยังเนื้อหาหน้าที่ได้รับความนิยมต่าง ๆ และข้อความแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า พวกเขา เข้ามาสู่หน้าที่ไม่มีจริง หรือลิงก์เสีย

ส่วนนี้อาจอยู่ในรูปแบบได้หลายรูปแบบ หรืออาจอยู่ในรูปแบบของ hamburger menu อยู่ด้านมุมบนของหน้าเพจ ผู้ใช้สามารถคลิ๊กเพื่อดูรายการต่าง ๆ ได้ (เช่น บทความ, portfolio, เกี่ยวกับเรา, ติดต่อเรา, วิธีการชำระเงิน, และอื่น ๆ) หากคุณมีเนื้อหาไม่มากนัก และจัดเนื้อหาอยู่ในหน้าเดียว การมีส่วน site navigation เพื่อลิงก์ไปยังเนื้อหาในหน้าเพจที่ยาว ก็เป็นส่วนช่วย ให้ผู้อ่านใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น

2.4 ทำเนื้อหาให้กระชับ ตรงประเด็น

การทำเนื้อหาให้กระชับตรงประเด็น อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำคีย์เวิร์ดให้อยู่ในเนื้อหาที่ต้องการ แต่ยิ่งเนื้อหากระชับมากขึ้นเท่าใด ผู้อ่านยิ่งอ่านง่ายมากขึ้นนั้น

แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาทั้งหมด จะต้องสั้นไปเสียทั้งหมด หากแต่เนื้อหาควรมีข้อความอย่างน้อย 350 คำ และในบางกรณีการมีเนื้อหาอยู่ที่ 800 ถึง 2000 ก็สามารถทำอันดับได้ดีกว่า

2.5 เว็บไซต์ของคุณต้องอ่านง่ายในอุปกรณ์มือถือ

ธีมส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น รองรับการดูผ่านอุปกรณ์มือถือเกือบทั้งหมด แต่ในการออกแบบนั้น ต้องดูจริงบนอุปกรณ์มือถือ และวิเคราะห์ถึงความยากง่ายในมุมของผู้ใช้งาน ปัจจุบันนี้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่กว่า 60% มาจากการค้นหาบนอุปกรณ์มือถือ และมีแนมโน้มที่สูงขึ้นในอนาคตอันใกล้

3. ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์

ตรวจทานความถูกต้องของ HTML code

3.1 ลดการใช้งานปลั๊กอินต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น

เว็บไซต์ที่ใช้ Flash หรือมี JavaScript มากมายนั้น มักจะโหลดนาน พยายามลดการใช้งานพวกนี้ลงในหน้าเพจส่วนใหญ่ และไม่ควรใช้งานเล่นวิดีโออัตโนมัติ (YouTube ก็เช่นกัน)

ลดการใช้งานปลั๊กอิน

3.2 ปรับปรุงคุณภาพรูปภาพ

ภาพที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพสูง จะทำให้เว็บไซต์ของคุณนั้น โหลดได้ช้าลง นอกจากนี้ ยังกินความจุบนเครื่อง server ของโฮสติ้งอีกด้วย มีโปรแกรมแก้ไขภาพมากมายที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพ ก่อนอัพขึ้นเว็บ หรือปลั๊กอินบางตัว สามารถปรับปรุงรูปภาพได้เป็นจำนวนมากในเวลาไม่นาน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก คู่มือการปรับปรุงรูปภาพใน WordPress 2019

ลดการใช้งานปลั๊กอิน

3.3 ลดขนาด CSS และ JavaScript code

ลดขนาด code โดยการลบช่องว่างต่าง ๆ รวมไปถึงตัวอักษรที่ไม่จำเป็น จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณโหลดได้เร็วขึ้น และสามารถทำอันดับได้ดีขึ้นด้วย เราสามารถใช้ปลั๊กอิน cache ต่าง ๆ ช่วยในการลดขนาด CSS และ JavaScript code การแก้ไขด้วยตนเอง อาจทำให้เกิดปัญหาที่แก้ไม่ได้ตามมา หากไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ

ลดขนาด CSS และ JavaScript

3.4 ใช้ PHP เวอร์ชันล่าสุด

การใช้ PHP ตัวล่าสุดจะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเพจได้อย่างง่าย ๆ หากแต่ต้องทำการสำรองข้อมูลก่อนอัพเดทเวอร์ชัน PHP เพื่อป้องกันความผิดพลาดและปัญหาตามมา หากคุณใช้ WordPress คุณไม่ต้องกังวลใด ๆ ในการอัพเดทเวอร์ชัน PHP สามารถทำได้ทันที

ใช้ PHP เวอร์ชันล่าสุด

3.5 ตรวจดูการ caches files ของเว็บไซต์ว่าไม่ได้มาจากหน่วยความจำภายนอก

ตรวจดูการ caches files ของเว็บไซต์

การที่เว็บไซต์จะโหลดได้เร็วนั้น ไฟล์ทุกชนิดที่เรียกมาแสดงบนหน้าเว็บ ควรต้องมาจากภายในโฮสติ้งเท่านั้น ไม่ควรเรียกไฟล์จากภายนอกมาแสดง และเปิดการใช้งาน cache อย่างถูกต้อง เพื่อให้ browser สามารถจดจำไฟล์ต่าง ๆ ไว้ในเครื่องผู้เยี่ยมชม ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาโหลดนาน

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับบทความนี้ ทำตามได้ไม่ยากเลย หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเขียนความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยครับ

ขอขอบคุณ เรื่อง และภาพประกอบจาก Wikihow มา ณ ที่นี้ครับ

Leave a Comment