Yoast คีย์เวิร์ด

วิธีเลือก Yoast คีย์เวิร์ด สำหรับทำ SEO

หากคุณกำลังใช้งาน Yoast คุณอาจจะคุ้นเคยกับการตั้งค่า Yoast คีย์เวิร์ด เพื่อที่จะสามารถปรับปรุงเนื้อหาให้ได้ไฟเขียวตรงกับคีย์เวิร์ดที่ต้องการ

การเลือกคีย์เวิร์ดนั้น เราไม่ควรใช้การเดา เพราะคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องสร้างเนื้อหาสำหรับคีย์เวิร์ดที่เราไม่ได้อยากทำอันดับ หรืออาจจะไม่อยากกลับไปแก้เนื้อหาให้เสียเวลา เราจำเป็นต้องรู้ว่า ผู้คนกำลังค้นหาอะไร (keyword research) และรู้ถึงความสามารถในการแข่งขัน สำหรับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ (keyword competition) การที่เราหาข้อมูลก่อน จะช่วยให้เราทำอันดับได้ง่ายขึ้น และเป็นสิ่งที่ควรทำ ก่อนการเริ่มเขียนเนื้อหา การเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับ “วิธีสร้างรายได้” กับ “วิธีหารายได้เสริมจากงานประจํา” เป็นเนื้อหาที่ต่างกัน

นอกจากนี้ยังมีบทความเกี่ยวกับการตั้งค่า Yoast คีย์เวิร์ด ที่จะแสดงถึงวิธีการตั้งค่าที่เหมาะสม, การจัดการกับ Google Search Console, การแก้ crawl errors, การปรับปรุงเนื้อหา (ที่มีอะไรมากกว่าการทำให้ไฟเขียวติด) และ การเพิ่ม accelerated mobile pages (AMP) ซึ่งคุณควรศึกษาควบคู่กัน กับบทความนี้

ท้ายที่สุดแล้ว Yoast คีย์เวิร์ด ก็เป็นแค่หัวเรื่องเท่านั้น หากเรื่องนั้นมีการค้นหาเป็นจำนวนมาก มีเนื้อหาที่ดีครบสมบูรณ์ อาจมีการแข่งขันสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเว็บไซต์ของคุณมี authority ต่ำและมี backlinks ไม่มากนัก) การที่เราจะตั้งเป้าหมายสำหรับคีย์เวิร์ดสองเรื่องที่แตกต่างกันพอสมควร เราควรสร้างเพจ สำหรับแต่ละคีย์เวิร์ด

Answer The Public – สามารถแตกคีย์เวิร์ดออกมาเป็นแผนผัง ในเชิงความสัมพันธ์ โดยดึงคีย์เวิร์ดออกมาจาก Google Autocomplete ยิ่งไฟเขียวเข้มมากเท่าไหร่ ยิ่งมีการค้นหามากขึ้นเท่านั้น

MozBar – Google คีย์เวิร์ดต่าง ๆ และลองดูผลลัพธ์เกี่ยวกับ DA (domain authority) และ PA (page authority) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการค้นหาคีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันกัน พยายามแข่งขันกับเว็บไซต์ที่มี domain authority ใกล้เคียงกัน

Google Autocomplete – เป็นเทคนิคที่ใช้ในการหาคีย์เวิร์ด โดยการใช้_ เพื่อให้ Google เสนอคำมาให้เรา เช่น “ร้านอาหาร_” เราจะพบคำที่ Google แนะนำ เช่น การ์ตูน, เชียงใหม่, ใกล้ฉัน, หาดใหญ่, ไอคอนสยาม และคำอื่น ๆ เป็นต้น

Moz Keyword Explorer – เหมือนกันกับ Google Keyword Planner (แต่ดีกว่า) เพราะออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับทำ SEO โดยเฉพาะ ในขณะที่ Google Keyword Planner นั้นถูกออกแบบมาสำหรับ AdWords นอกจากนี้ Moz Keyword Planner ยังแสดงให้เราเห็นถึงอัตราการแข่งขันของคีย์เวิร์ดแยกตามประเภทของลิงก์, domain authority, และอื่น ๆ ในขณะที่ Keyword Planner นั้นใช้เฉพาะ CPC (cost per click) ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ Google ต้องการโฆษณา

Google Trends – แสดงให้เห็นถึงประวัติการค้นหาคีย์เวิร์ดใน Google, YouTube และสื่ออื่น ๆ ตรวจดูแนมโน้มการค้นหาในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงคำถามต่าง ๆ ที่ผู้คนถาม

เริ่มจากทำการแก้ไขภาพที่มีผลต่อเว็บไซต์โดยรวมก่อน เช่น logo, ภาพที่อยู่ใน sidebar/footer, และอื่น ๆ รวมไปถึงการนำเสนอภาพที่มีขนาดถูกต้องกับที่แสดงบนหน้าเว็บ (serve scaled images) ซึ่งเราอาจจำเป็นต้องทำการ resize/reupload ภาพขนาดใหม่ ดู คู่มือการปรับปรุงรูปภาพ WordPress

Answer the Public เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างดี และชัดเจนในการเลือกคีย์เวิร์ดครับ แนะนำเลย เพราะสามารถสร้าง map ออกมาให้เราเห็นชัดเจนโดยการดึงข้อมูลการค้นหามาจาก Google Autocomplete ยิ่งไฟมีความเขียวมากเท่าไหร่ แปลว่ามีการค้นหามากขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะไม่รองรับภาษาไทยแบบเต็มรูปแบบ คือใช้งานได้ไม่ครบทุกฟังก์ชัน (ไม่สามารถเลือกคีย์เวิร์ดสไตล์ ตั้งคำถาม คำนำหน้า หรือคีย์เวิร์ดเชิงเปรียบเทียบได้) แต่จัดว่าเพียงพอ สำหรับการทำ SEO ในเมืองไทยครับ สามารถหาความสัมพันธ์ของคำต่าง ๆ ด้านล่าง ผมยกตัวอย่างคีย์เวิร์ดบางคำมาให้ดูแผนผัง ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการทำเนื้อหาให้ตรงกับคีย์เวิร์ดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้ตัว Pro Plan แต่อย่างใด

answerthepublic
สอน wordpress

MozBar นั้นเป็นส่วนขยายของ Chrome ช่วยให้เราสามารถ Google คีย์เวิร์ดคำใดก็ได้ในหน้า search engines และให้เราดูผลการค้นให้ในส่วนของ DA (domain authority) และ PA (page authority) ตัวเลขยิ่งมาก = การแข่งขันมาก ซึ่งคุณอาจจะต้องการที่จะแข่งขันในระดับเดียวกันกับเว็บไซต์ที่มี domain authority ในระดับเดียวกัน สามารถตรวจสอบ DA ได้จาก Mozbar คุณสามารถเพิ่ม DA ได้ด้วยการหา quality links เพิ่มเติม (เช่น การสร้างเนื้อหาชั้นยอด)

domain authority

คำแนะนำในการใช้ MozBar

  • เรียนรู้ DA ของคุณด้วยการใช้ Link Explorer และหาคีย์เวิร์ดเป้าหมายที่เราต้องการ
  • คีย์เวิร์ดกว้าง ๆ ปกติจะมี DA และ PA สูง ส่วนคีย์เวิร์ดคำยาว จะมี DA และ PA ต่ำกว่า
  • คุณสามารถเพิ่ม DA ของได้ด้วยการสร้างเนื้อหาที่ดี และมีคุณค่า
  • เว็บไซต์ใหม่ ปกติแล้วจะมี DA ที่ต่ำ ดังนั้นจึงควรตั้งเป้าหมายไปยังคีย์เวิร์ดที่จำเพาะเจาะจง
  • คุณสามารถเพิ่มค่า PA ได้ด้วยการปรับปรุงเนื้อหา และสร้างลิงก์ภายในเพจ

หลีกเลี่ยงคีย์เวิร์ดที่แสดงเนื้อหาที่มีการแข่งขันสูง

โอกาสที่ดีที่สุดสำหรับเว็บไซต์หน้าใหม่คือ เมื่อเราค้นหาคีย์เวิร์ดใน Google แล้วเนื้อหาที่มีการแข่งขันไม่สูงมากนัก แสดงอยู่บนสุดในหน้า SERP เพียงแค่ลอง Google แล้วค้นหาดูถึงผลการค้นหา ดูว่าผู้คนค้นหาเรื่องอะไร และผลการค้นหานั้นตอบโจทย์หรือไม่ ถ้าไม่ แสดงว่าเป็นโอกาสเหมาะสำหรับคุณในการทำอันดับให้สูงขึ้น

หลีกเลี่ยงการแข่งขันกับเว็บไซต์ที่มีค่า Authority สูง ๆ

  • pantip.com
  • wongnai.com
  • sanook.com
  • beartai.com
  • และอื่น ๆ…

ให้เราไปที่ google.com และลองพิมคีย์เวิร์ดเพื่อค้นหา และให้ Google ลองเสนอคำค้นหาเพิ่มเติมมาให้เรา (จำไว้เสมอว่า เราควรหาคีย์เวิร์ดที่เป็นคำยาว 3 คำขึ้นไป เพราะมีอัตราการแข่งขันที่น้อยกว่า) คุณอาจเลือกใช้การพิมขีดล่าง _ (underscore) ที่ไหนก็ได้ในคำวลีและให้ google เติมคำในช่องว่างให้เรา

google autocomplete

Autocomplete นั้นใช้ได้กับ search engines ทั้งหมด รวมไปถึง YouTube สำหรับการทำ video SEO…

youtube autocomplete

คำแนะนำในการใช้ Autocomplete

  • เลือกเฉพาะคีย์เวิร์ดที่เป็นคำยาว (long-tail) เพราะมีอัตราการแข่งขันต่ำ
  • ไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า “ที่สุด” และคำขยายความอื่น ๆ (adjectives)
  • คำเหมือน สามารถใช้เป็นเป้าหมายได้ในหน้าเดียวกัน (secondary keywords)
  • ธุรกิจทั้งหมดในโลกออนไลน์ มีการใช้คีย์เวิร์ดหลายคำต่อ 1 บริการ เช่น สอน wordpress, สอน SEO, บริการ wordpress seo, เป็นต้น … ซึ่งมีความแตกต่างกัน และทำให้เราสามารถแยกหน้าเพจออกไปได้อีก และได้ผลลัพธ์ที่ดีในทางปฏิบัติ)
  • การเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่จำเพาะเจาะจงเช่น สอน wordpress SEO 2018 (แทนที่จะใช้คำว่า สอน SEO) จะช่วยให้สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจงมากกว่า

ไม่พลาดการเลือกคีย์เวิร์ดสำคัญด้วย Moz Keyword Explorer ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำงานคล้ายกับ Keyword Planner แต่ว่าฟรี (ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน AdWords เพิ่มเติม) และคุณยังสามารถจับกลุ่มคีย์เวิร์ดที่สัมพันธ์กัน เริ่มต้นจากคีย์เวิร์ดกว้างก่อน

Moz Keyword Explorer

จากนั้นคลิ๊กไปที่ keyword suggestions –> see all suggestions

Moz Keyword Suggestions

เทคนิคการใช้ Moz Keyword Explorer

  • จับกลุ่มคีย์เวิร์ดโดยเลือกไปที่ low lexical similarity (ใช้ตัวกรอง)
  • เริ่มจากค้นหาคีย์เวิร์ดคำกว้างก่อน จากนั้นหาคำที่เฉพาะเจาะจง แล้วค่อยหาคีย์เวิร์ดคำยาว

Google Trends เป็นเครื่องมือบอกคุณว่าคีย์เวิร์ดที่คุณเลือกอยู่นั้น อยู่ในช่วยขาขึ้น หรือขาลง นอกจากนี้ยังช่วยบอกเราอีกว่า ช่วงไหนของปี มีคนค้นหาคีย์เวิร์ดคำนั้นมากนี่สุด และแหล่งที่มาของการค้นหา

ราเม็งกำลังมาแรง!

google trends compare
เปรียบเทียบตามภูมิภาค

จากแผนภาพ เราพบว่า คนกระบี่ ชอบทางเฝอมากกว่าราเม็ง ในขณะที่คนมหาสารคามชอบทานราเม็งมากกว่าเฝอ

Search Analytics เป็นคุณสมบัติหนึ่งของ Google Search Console (ซึ่งสามารถเปิดใช้งานได้โดยตรงผ่าน Yoast) จะบอกคุณถึงคีย์เวิร์ด, ranking position, CTR (click-through rate), top ranked pages, ประเทศของผู้ใช้ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ทำการค้นหา ซึ่ง Search Analytics นั้น จะใช้งานง่ายกว่า Google Analytics ในด้านของการทำ SEO

คำแนะนำ: หาคีย์เวิร์ดที่ Google มองเห็นแล้ว 5 อันดับแรก จากนั้นทำการปรับปรุงหน้าเพจเหล่านั้นให้สอดคล้องกับความต้องการของ Google วิธีนี้ จะทำให้คุณได้ traffic เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ยาก

google search analytics
คีย์เวิร์ดที่จัดอันดับแล้ว

Google Keyword Planner นั้น ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับ AdWords – อย่าใช้ในการทำ SEO! การแข่งขันที่แสดงนั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับการค้นหาแบบออร์แกนิค การหาคีย์เวิร์ดโดย Google Autocomplete หรือเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่ดึงข้อมูลมาจาก Autocomplete (เช่น Answer The Public) นั้นดีกว่ามาก เพราะแสดงให้คุณเห็นถึงการแข่งขันที่แท้จริงของการค้นหาแบบออร์แกนิค และวิธีที่ดีที่สุดนั้น คือการค้นหาด้วยการใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในช่องการค้นหาของ Google ด้วยตนเอง และทำการวิเคราะห์ดูว่าเนื้อหาเราอันไหนที่ติดอันดับแล้ว และคู่แข่งของเราคือใคร

ในหมวดชนิดของคีย์เวิร์ดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวด ดังนี้

Long-tail keywords หรือ คีย์เวิร์ดคำยาว เป็นคีย์เวิร์ดชนิดที่ทำอันดับได้ง่าย โดยปกติจะประกอบด้วย 3 – 7 คำในวลีเดียว นอกจากนี้ คีย์เวิร์ดชนิดนี้ยังสามารถดึงดูดลูกค้าได้ง่าย เช่น เราสามารถตั้งเป้าหมายเป็น “สอน wordpress เบื้องต้น” แทนที่จะใช้คำว่า “สอน wordpress” ซึ่งให้รายละเอียดที่ลึก และตรงประเด็นกว่า

หากว่าคุณเป็นเว็บไซต์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ หรือมี Domain Authority (DA) ไม่สูงนัก การจะไปแข่งขันกับเว็บที่มี DA สูงนั้น แทบเป็นไปไม่ได้ จึงควรเลือกโฟกัสเฉพาะ longer-tail keywords จนกว่าคุณจะสามารถสร้าง DA ขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถโฟกัสคีย์เวิร์ดกว้าง ๆ ได้

longtail keywords

ยกตัวอย่างคำค้นหาที่เฉพาะเจาะจง

  • “คลินิกทำฟัน” อัตราการแข่งขันสูง เปลี่ยนเป็น “คลินิกทำฟัน งามวงศ์วาน” เหมาะสมกว่า
  • “ขายคอนโด” อัตราการแข่งขันสูง เปลี่ยนเป็น “ขายคอนโด ม.เกษตร บางเขน” เหมาะสมกว่า
  • “รับซ่อมคอม” อัตราการแข่งขันสูง เปลี่ยนเป็น “รับซ่อมคอมพิวเตอร์ถึงบ้าน” เหมาะสมกว่า
  • “จัดโต๊ะจีน” อัตราการแข่งขันสูง เปลี่ยนเป็น “จัดโต๊ะจีน งานแต่ง เชียงใหม่” เหมาะสมกว่า
  • “รองเท้าวิ่ง” อัตราการแข่งขันสูง เปลี่ยนเป็น “รองเท้าวิ่ง adidas ultra boost” เหมาะสมกว่า

เราสามารถดึงผู้ชมมาได้เพิ่มขึ้นโดยการเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่มีช่วงเวลา (โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความจำเพาะเรื่องเวลา)…

คีย์เวิร์ดที่มีช่วงเวลา

เมื่อเราทำการปรับปรุงเนื้อหา เราควรแทรกวันที่ (ปี) เข้าไปในส่วนของหัวเรื่อง (page title), SEO title, และ meta description แน่นอนว่าเราต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความสดใหม่ และอาจแทรกในส่วนของ featured snippet

หลักการง่าย ๆ คือ ยิ่งเราตั้งกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ไว้ใหญ่มากเท่าไหร่ เราก็ต้องการคีย์เวิร์ดที่จำเพาะเจาะจงมากเท่านั้น และยิ่งต้องใช้คีย์เวิร์ดในปริมาณมากขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าเราเลือกกลุ่มเป้าหมายพื้นที่เล็ก เราสามารถใช้คีย์เวิร์ดกว้าง ๆ ได้

คีย์เวิร์ดเมืองเล็ก

เว้นเสียแต่ว่าคุณกำลังเลือกคำเป้าปมายเป็นเมืองเล็ก และมีเพียง 1 คีย์เวิร์ดเช่น “ศูนย์ซ่อมไอโฟนพัทยา” คุณอาจต้องเลือกคีย์เวิร์ดคำอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มโอกาสในการหาเป้าหมาย (สามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดต่าง ๆ)

ยิ่งเมืองเล็ก ก็จะยิ่งมีคีย์เวิร์ดกว้าง ๆ ให้เลือกน้อยลง

local keyword

ยิ่งเมืองใหญ่ ยิ่งมีคีย์เวิร์ดให้เลือกมากขึ้น อย่าลืมใช้ Google Trends เพื่อดูคีย์เวิร์ดท้องถิ่น และความนิยม

หลังจากที่เราเลือก Yoast คีย์เวิร์ด ที่ต้องการได้แล้ว เราสามารถเริ่มปรับปรุงเนื้อหากันได้เลย ส่วนวิธีการปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมต้องทำอย่างไรนั้น โปรดติดตามในบทความถัดไปครับ

ข้อควรจำ: ควรตั้งเป้าหมายคีย์เวิร์ดไว้เพียง 1 คีย์เวิร์ดต่อหน้าเท่านั้น (ยกเว้นคีย์เวิร์ดคำเหมือน)

เราสามารถใช้คีย์เวิร์ดคำเหมือน (เช่น โซฟา กับ sofa) ในการตั้งเป้าหมายในหน้าเดียวกันได้ เพราะว่า Google ต้องการแสดงเนื้อหาที่สัมพันธ์กันกับทั้ง 2 คีย์เวิร์ด หากแต่ว่าถ้าคีย์เวิร์ดสองคำนั้น ไม่ได้มีความหมายเหมือนกัน เราควรแยกออกมาเป็น 2 เพจ จะดีที่สุด

หากคุณพบว่าบทความการตั้งค่า Yoast คีย์เวิร์ด นี้มีประโยชน์ สามารถแชร์ หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมาย Yoast คีย์เวิร์ด สามารถแสดงความคิดเห็นด้านล่างได้เลยครับ

จองคอร์สเรียน LINE ICON